Shares

20 วิธี ในการพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา ที่ HR และหัวหน้างานทุกคนต้องรู้ 

               ส่วนใหญ่เราคุ้นเคยกับกิจกรรมที่ให้ความรู้ เพิ่มพูนประสบการณ์หรือเสริมทักษะ (Skill) รวมทั้งปรับปรุงทัศนคติให้เหมาะสมกับงาน อันได้แก่ การฝึกอบรม

               แท้จริงยังมีการพัฒนาพนักงานที่ไม่ใช่การฝึกอบรมอีกมาก ทั้งที่เป็นกิจกรรมการบริหารกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง และกิจกรรมแสวงหาความรู้ในหน้าที่ ซึ่งให้ผลไม่ยิ่งหย่อนกว่าการฝึกอบรม และในหลายกรณีกลับจะให้ผลเป็นการพัฒนาพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง

วิธีการพัฒนาที่ผู้บังคับบัญชาจะมีส่วนช่วยดำเนินการได้อย่างดียิ่ง คือการฝึกอบรมในงานหรือการปฏิบัติงาน เรียกในภาษาอังกฤษว่า On-The-Job-Training (OJT) เป็นกิจกรรมการบริหารที่ใช้สภาพการทำงานจริง ซึ่งเน้นประสบการณ์ตรง (Direct Experience) ที่ได้รับเป็นสำคัญในการเพิ่มความรู้ ความชำนาญ และการสร้างทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน      

การฝึกอบรมในงาน (OJT) ต่างจากปล่อยให้พนักงานมีประสบการณ์ (Experience) ไปเองตามปกติ

การฝึกอบรมในงาน (OJT) จะต้องมีการฝึกอบรมนอกงาน (Off-The-Job-Training เป็นพื้นฐานมาก่อน

การฝึกอบรมในงาน สามารถดำเนินการได้หลายรูปแบบ ดังนี้

1.การสับเปลี่ยน โอน ย้ายหน้าที่ (TRANSFER)

2.การหมุนเวียนงาน(JOB ROTATION)

3.การเตรียมตัวแทน หรือให้ทำหน้าที่ผู้ช่วย (UNDER STUDY)

4.การให้รักษาการแทน ( ACTION)

5.การให้ทำหน้าที่ในคณะกรรมการ( COMMITTEE)

6.การให้ร่วมในคณะทำงาน( WORKING GROUP)

7.การดูงาน ( STUDY MISSION)

8.การเพิ่มความรับผิดชอบ (JOB  ENRICHMENT)

9.การมอบหมายงานพิเศษ ( SPECIAL ASSIGNMENT)

10.การจัดเปลี่ยนรูปองค์การ (RE-ORGANIZATION)

11.การจัดตั้งกลุ่มกิจกรรมของพนักงาน( EMPLOYEE’S GROUP ACTIVITY)

12.การจัดโปรแกรมการศึกษา (PROGRAMMED INSTRUCYION, MODULAR PROGRAMME)        

13.การจัดให้มีคู่มือปฏิบัติงาน( JOB  MANUAL)

14.การจัดวารสารทางวิชาการในสาขาอาชีพให้อ่าน( READING ASSIGNMENT)

15.การส่งเอกสารให้สรุปทำรายงานเสนอ ( FORCE READINNG)

16.การมอบหมายให้วิจารณ์หนังสือ ( BOOK REVIEW)

17.การให้คำปรึกษา ( COUNSELLING)

18.การจัดให้มีเพื่อนผู้มีประสบการณ์ร่วมทำงาน (BUDDY)

19.การนำไปสังเกตการณ์( OBSERVATION)

20.การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้บังคับบัญชา ( SET A GOOD EXAMPLE)

นอกจากวิธีการดังกล่าวข้างต้น ผู้บังคับบัญชายังสามารถใช้กิจกรรมอื่น ๆ มาช่วยในการพัฒนาพนักงานได้อีก ดังนี้

กิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง

1.การส่งเสริมการศึกษา

2.การส่งเสริมการศึกษาส่วนตัว (การศึกษาผู้ใหญ่, การศึกษาแบบเปิด)

กิจกรรมแสวงหาความรู้ในหน้าที่

3.การจัดโปรแกรมการศึกษา (Programmed Instruction, Modular Programme)

4.การจัดให้มีคู่มีปฏิบัติงาน

5.การจัดวารสารทางวิชาการในสาขาอาชีพให้อ่าน( READING ASSIGNMENT)

6.การส่งเอกสารให้สรุปทำรายงานเสนอ ( FORCE READINNG)

7.การมอบหมายให้วิจารณ์หนังสือ ( BOOK REVIEW)

สรุป

การพัฒนาพนักงาน เป็นการเพิ่มขีดความสามารถให้แก่พนักงาน ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ และตัวพนักงานเองก็จะมีความก้าวหน้า การพัฒนาพนักงานเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งต่อผู้บังคับบัญชา ตัวพนักงาน และองค์การ ผู้บังคับบัญชาทุกคนและทุกระดับชั้นจะต้องพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อให้การปฏิบัติงานของผู้บังคับบัญชาเองมีประสิทธิภาพ ลดภาระ ในการต้องคอยแก้ไขงานที่ผิดพลาดบกพร่องของผู้ใต้บังคับบัญชา หรือการลงมาทำงานแทนในหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชา การพัฒนาพนักงานมิใช่กระทำด้วยวิธีฝึกอบรมอย่างเดียวสามารถจะใช้วิธีอื่น ๆ นอกเหนือจากการฝึกอบรม เพื่อให้บรรลุผลในการพัฒนาพนักงานได้

สนใจติดต่อสอบถามวิธีการวางแผนฝึกอบรม ที่มีประสิทธิผล หรือต้องการคำปรึกษาฟรี ติดต่อได้ที่ อ.วิชัย ปีติเจริญธรรม 081-802-3348

Shares
Shares