Shares

หลักสูตร “ทักษะการพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา

หลักการและเหตุผล

            การพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา  คือกิจกรรมที่มุ่งเสริมสร้างให้พนักงานได้เพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่  ทั้งในปัจจุบันและอนาคต  เพื่อให้องค์การได้รับประโยชน์เต็มที่จากการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพของพนักงานและให้พนักงานมีความก้าวหน้า  ซึ่งการพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชานั้นไม่ใช่ภาระหน้าที่ของฝ่ายบุคคลหรือฝ่ายฝึกอบรมเพียงฝ่ายเดียว  หากแต่เป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุกฝ่าย  แต่ทั้งนี้การพัฒนาพนักงานด้วยกิจกรรมอื่น ๆ ก็ยังคงเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาตามสายงานนั้น ๆ อยู่

วัตถุประสงค์

·       เพื่อทราบถึงบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของหัวหน้าในการพัฒนาลูกน้อง

·       เพื่อทราบถึงวิธีการพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาแบบต่าง ๆ

·       เพื่อทราบถึงเครื่องมือและระบบสนับสนุนการพัฒนาลูกน้อง  ที่หัวหน้าต้องใช้

·       เพื่อเข้าใจถึงเทคนิคและขั้นตอนการสอนงาน (Coaching)

·        

หัวข้ออบรม

การพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา

แนวคิดในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล

ความจำเป็นในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล

นโยบายในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล

ความหมายของการพัฒนาพนักงาน

ความเข้าใจผิดในการพัฒนาพนักงาน

บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบในการพัฒนาพนักงาน

ผู้บังคับบัญชาตามสายงานควรเข้าใจในหลักการพัฒนาพนักงาน ดังนี้

            1. องค์การมีความจำเป็นต้องพัฒนาพนักงาน

            2. การพัฒนาพนักงานเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาองค์การ

            3. ผู้บังคับบัญชาต้องสนับสนุนและไม่จำกัดโอกาสพัฒนาพนักงาน

            4. ผู้บังคับบัญชามีความรับผิดชอบโดยตรงในการพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา

            5. การพัฒนาด้านการจัดการเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้บังคับบัญชาทุกคน

            6. การพัฒนาพนักงานสามารถทำได้ดีในงาน ไม่จำเป็นต้องรอให้จัดฝึกอบรม

            7. การพัฒนาพนักงานที่ได้ผลต้องทำอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ

สาเหตุที่ผู้บังคับบัญชาไม่พัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาของตน

            1. เข้าใจผิดว่าวิธีการพัฒนาพนักงานมีเพียงการฝึกอบรมเท่านั้น จึงปล่อยให้เป็นหน้าที่ของฝ่ายบุคคล หรือฝ่ายฝึกอบรม

            2. ไม่มีความเข้าใจในเรื่องการพัฒนาพนักงาน

            3. ไม่รู้ว่าควรพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาคนใดอย่างไร

            4. คิดว่าผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานดีอยู่แล้ว ไม่ต้องพัฒนา

            5. คิดว่าผู้ใต้บังคับบัญชาไม่มีความสามารถที่จะพัฒนาได้แล้ว

            6. ไม่ให้ความสำคัญ จึงอ้างว่าไม่มีเวลา

            7. ผัดผ่อนไปเรื่อย ๆ จนไม่ได้เริ่มต้น

            8. เกรงว่าเมื่อพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาแล้วจะทำให้ก้าวหน้ามาเสมอตน

การฝึกอบรมในงาน สามารถดำเนินการได้หลายรูปแบบ ดังนี้

            1. การสับเปลี่ยน โอน ย้ายหน้าที่ (TRANSFER)

            2. การหมุนเวียนงาน(JOB ROTATION)

            3. การเตรียมตัวแทน หรือให้ทำหน้าที่ผู้ช่วย (UNDER STUDY)

            4. การให้รักษาการแทน ( ACTION)

            5. การให้ทำหน้าที่ในคณะกรรมการ( COMMITTEE)

            6. การให้ร่วมในคณะทำงาน( WORKING GROUP)

            7. การดูงาน ( STUDY MISSION)

            8. การเพิ่มความรับผิดชอบ (JOB  ENRICHMENT)

            9. การมอบหมายงาพิเศษ ( SPECIAL ASSIGNMENT)

            10. การจัดเปลี่ยนรูปองค์การ (RE-ORGANIZATION)

            11. การจัดตั้งกลุ่มกิจกรรมของพนักงาน( EMPLOYEE’S GROUP ACTIVITY)

            12. การจัดโปรแกรมการศึกษา (PROGRAMMED INSTRUCYION, MODULAR PROGRAMME)

            13. การจัดให้มีคู่มือปฏิบัติงาน( JOB  MANUAL)

            14. การจัดวารสารทางวิชาการในสาขาอาชีพให้อ่าน( READING ASSIGNMENT)

            15. การส่งเอกสารให้สรุปทำรายงานเสนอ ( FORCE READINNG)

            16. การมอบหมายให้วิจารณ์หนังสือ ( BOOK REVIEW)

            17. การให้คำปรึกษา ( COUNSELLING)

            18. การจัดให้มีเพื่อนผู้มีประสบการณ์ร่วมทำงาน (BUDDY)

            19. การนำไปสังเกตการณ์( OBSERVATION)

            20. การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้บังคับบัญชา ( SET A GOOD EXAMPLE)

Shares
Shares